KUBET – “ดร.ณัฏฐ์” ชี้แนวทาง คดียิ่งลักษณ์ “นโยบายจำนำข้าว” ต่อคำวินิจฉัย”ศาลปกครองสูงสุด” 

“ดร.ณัฏฐ์” ชี้แนวทาง คดียิ่งลักษณ์ “นโยบายจำนำข้าว” ต่อคำวินิจฉัย”ศาลปกครองสูงสุด” 

นักกฎหมายมหาชน “”ดร.ณัฏฐ์” เปิด 5 แนวทางคำพิพากษา”ศาลปกครองสูงสุด” คดียิ่งลักษณ์ “โครงการจำนำข้าว” ชี้มีทั้งยก ยืน กลับ หรือแก้ไข พร้อมเผยผลสะเทือนถึงการยึดทรัพย์และการคืนเงินหากคำพิพากษาเปลี่ยน

21 พฤษภาคม 2568 ความคืบหน้าคดี “โครงการรับจำนำข้าว” ซึ่งเกี่ยวพันกับคำสั่งทางปกครองให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ชดใช้ค่าสินไหมแก่รัฐ ตามคำสั่งของกระทรวงการคลัง ล่าสุดศาลปกครองสูงสุดได้นัดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 นี้ สืบเนื่องได้รับการเปิดเผยจากนายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่าศาลปกครองสูงสุดนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 นี้ 

ขณะเดียวกัน “ดร.ณัฏฐ์” ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน ได้วิเคราะห์แนวทางที่ศาลปกครองสูงสุดอาจมีคำวินิจฉัยไว้ 5 แนวทางหลัก โดยระบุว่า คดีนี้มีความซับซ้อน และคำพิพากษาอาจเป็น หมุดหมายสำคัญต่อสิทธิในการคุ้มครองทรัพย์สินของประชาชนที่ถูกกล่าวหาโดยรัฐ

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ออกมาได้หลายช่องทาง 

แนวทางแรก หากศาลพิพากษา “ยืน” ตามศาลปกครองชั้นต้น หมายถึง ยิ่งลักษณ์ไม่ต้องรับผิดชอบ ตามคำสั่งชดใช้เงินของกระทรวงการคลัง ซึ่งถือเป็น คำสั่งทางปกครอง ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

แนวทางที่สอง หากศาลพิพากษา “กลับ” ความหมายคือ คำสั่งของกระทรวงการคลัง มีผลใช้บังคับ แต่ไม่อาจนำไปสู่การยึดทรัพย์ได้ทันที เพราะไม่ใช่หนี้ภาษี และยังไม่ใช่คำพิพากษาของศาลตามหลักกฎหมาย

แนวทางที่สาม ศาลอาจ “แก้ไข” คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะในประเด็นจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ เช่น ลดหรือเพิ่มยอด โดยให้รับผิดบางส่วนแทนทั้งหมด

แนวทางที่สี่ หากพิพากษา “ยืน” ก็จะไม่มีผลกระทบต่อ คำพิพากษาศาลฎีกาฯ ที่ตัดสินจำคุก 5 ปี ไปแล้ว เพราะเป็นคนละคดีคนละศาล และไม่เกี่ยวกับมาตรา 211 ของรัฐธรรมนูญ ที่ให้ผลผูกพันต่อทุกองค์กรในกรณีศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น

แนวทางสุดท้าย ดร.ณัฏฐ์ระบุว่า หากบ้านของนางสาวยิ่งลักษณ์ ถูก ยึดและขายทอดตลาด ไปก่อนหน้านี้ โดยอ้างอิงคำสั่งทางปกครองของกระทรวงการคลัง ซึ่งหากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รัฐอาจต้อง คืนทรัพย์สินหรือจ่ายค่าชดเชยเท่ามูลค่าทรัพย์ ให้ผู้เสียหาย

นักกฎหมายมหาชน ย้ำว่า แม้ผลคดีนี้จะไม่ย้อนลบคำพิพากษาทางอาญา แต่จะมีผลโดยตรงต่อกระบวนการ บริหารจัดการทรัพย์สินและความรับผิดทางแพ่งของอดีตนายกฯ และอาจกลายเป็นบรรทัดฐานสำคัญว่ารัฐจะใช้อำนาจลงโทษผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในเชิงปกครองได้อย่างไรภายใต้หลักนิติธรรมในอนาคต

วันเดียวกัน นายสมชาย แสวงการ  อดีตสมาชิกวุฒิสภา  โพสต์ข้อความ ให้สังคม จับตา ศาลปกครองสูงสุด อ่านคำสั่ง ในคดี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องชดใช้ความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว  3.5 หมื่นล้านบาท  

โดยระบุว่า  วันพรุ่งนี้ 22 พ.ค. 2568 นอกจากจะเป็นวันครบรอบ 11 ปีรัฐประหารของคสช. แล้ว ยังเป็นวันสำคัญยิ่งในการพิสูจน์ความมีอยู่จริงของความศักดิ์สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ตามหลักนิติรัฐนิติธรรม ที่คนทำผิดต้องรับโทษและใช้หนี้คืนแผ่นดินหรือไม่ ?

จากเรื่องเดิม ในคดีทุจริตจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  ได้มีคำพิพากษาในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวฯ ที่สร้างความเสียหายให้กับรัฐมากมายหลายแสนล้านบาท รวม 2 คดี ได้แก่

:คดีทุจริตการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) 

ศาลฯมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 25/2558 คดีหมายเลขแดงที่ อม 178/2560 อม 179/2560 ลงโทษจำคุก บุญทรง เตริยาภิรมย์ เป็นเวลา 42 ปี ,จำคุก ภูมิ สาระผล เป็นเวลา 36 ปี ,จำคุก อภิชาต จันทร์สกุลพร หรือ ‘เสี่ยเปี๋ยง’ เป็นเวลา 48 ปี 

ส่วนจำเลยรายอื่นๆให้ลงโทษจำคุกลดหลั่นตามพฤติการณ์แห่งความผิด  ปัจจุบันนักโทษในคดีจำนำข้าวทั้งหมดออกจากเรือนจำทุกคนแล้ว  ส่วนใหญ่ได้รับการลดโทษและบางส่วนอยู่ระหว่างพักโทษ

ศาลฯพิพากษาให้ อภิชาต จันทร์สกุลพร ,บริษัท สยามอินดิก้า จำกัด กับพวก ร่วมกับชดใช้ค่าเสียหายให้กระทรวงการคลังเป็นเงิน 16,912 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% 

:คดี ยิ่งลักษณ์ ปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว โดยศาลฯมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อม.22/2558 คดีหมายเลขแดงที่ อม.211/2560 พิพากษาว่ายิ่งลักษณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.)  มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติฯ มาตรา 123/1 ให้จำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา ขณะนี้ยิ่งลักษณ์ยังหลบหนีอยู่ต่างประเทศ

*กระทรวงการคลังมีคำสั่งที่ 1351/2559 ลงวันที่ 13 ต.ค. 2559 ที่เรียกให้นางยิ่งลักษณ์ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นเงิน 35,717,273,028.23 บาท    ต่อมาในเดือน เม.ย.2564 ศาลปกครองกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่เรียกให้ อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชดใช้สินไหมทดแทนในโครงการรับจำนำข้าวฯ จำนวน 35,717 ล้านบาท โดยคดีนี้ยังไม่ถึงที่สุด รอคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดมาจนถึงวันนี้ 

ในวันที่ 22 พฤษภาคม2568 นี้ สังคมรอความยุติธรรมจากการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด ว่า  จะยึดทรัพย์เพื่อชดใช้หนี้ 35,717ล้านบาท ชดเชยความเสียหาย5แสนล้านบาท ที่ก่อไว้ได้ หรือไม่