KUBET – ผู้ตรวจสภาวิศวกร จี้เอาผิดทางวิชาชีพ ปม อาคาร สตง.ถล่ม
ผู้ตรวจสภาวิศวกร จี้เอาผิดทางวิชาชีพ ปม อาคาร สตง.ถล่ม
ผู้ตรวจสภาวิศวกร จี้ นายก-กรรมการ สภาวิศวกร ตั้งสอบเอาผิดทางวิชาชีพ ปม อาคาร สตง.ถล่ม หลังผ่านไปนานกว่า 1 เดือน ยังไม่มีผู้รับผิดชอบ
7 พฤษภาคม 2568 จากกรณีที่ ดร.ไกร ตั้งสง่า ผู้ตรวจสภาวิศวกร ได้ส่งหนังสือ ถึง นายกสภาวิศวกร วานนี้ (6 พ.ค.) เพื่อขอให้ดำเนินการตาม มาตรา 33(2) พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ.2542 ในการเร่งรัดตรวจสอบข้อเท็จจริง การกำกับดูแล และการดำเนินการทางกฎหมาย ต่อผู้กระทำความผิด ฝ่าฝืนหลักวิชาชีพ และมาตรฐานจริยธรรม กับวิศวกรที่เกี่ยวข้องกับ อาคาร สตง. ที่ถล่ม
ล่าสุด ผู้สื่อข่าว เนชั่นทีวี ได้พูดคุยกับ ดร.ไกร ตั้งสง่า ผู้ตรวจสภาวิศวกร คนที่ออกหนังสือจี้ไปที่ นายกสภาวิศวกรดังกล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค.จนถึงตอนนี้เวลาล่วงเลยมา 40 กว่าวันแล้ว ทางสภาวิศกร ก็ยังไม่ได้ออกมาทำอะไร ดังนั้นในฐานะผู้ตรวจฯ จึงอยากมา กระตุ้น มาเตือนให้สภาวิศวกรทำอะไรบางอย่าง
เพื่อเตือนนายกสภาวิศวกร และกรรมการสภาวิศวกร ว่า ถึงเวลาจะต้องรีบดำเนินการแล้ว เพื่อเป็นการช่วยกันปกป้องภาพลักษณ์ของวิศวกร เพราะตอนนี้ภาพลักษณ์และชื่อเสียงของวิศวกรไม่ดีเลย
ซึ่งการดำเนินการของของสภาวิศวกร จะต้องไม่ปล่อยเวลาให้ยาวนานขนาดนี้ เพราะมีการสูญเสียชีวิตและผู้สูญหายรวมกว่า100 ราย ถือเป็นโศกนาฎกรรมที่ใหญ่มาก ซึ่งเป็นเหตุมาจากแผ่นดินไหวและฝีมือมนุษย์
ดังนั้นสิ่งแรกที่สภาวิศวกรควรทำคือ การพักใบอนุญาต ทั้งของ วิศวกรของ สตง. ในฐานะเจ้าของงาน , วิศวกร ผู้ออกแบบ , วิศวกร ผู้คุมงาน และวิศวกรจากบริษัทผู้รับเหมา เพราะทั้ง 4 ส่วน คือองค์ประกอบในการดูแลคุณภาพ ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 4ส่วน หากจะทำอะไรต้องปรึกษากันต้องคุยกัน
ในเบื้องต้นควรจะเป็นการพักใบอนุญาตชั่วคราว เพื่อรอการตรวจสอบ และหาสามารรถ นำเอกสารหลักฐานมาชี้แจงกับสภาวิศวกรได้ ก็ค่อยพิจารณาปลดคำสั่งดังกล่าว ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการกระทำเพื่อบอกให้สังคมทราบแล้วว่า สภาวิศวกรได้ดำเนินการแล้ว หลังจากนั้นก็เป็นกระบวนการของการสืบสวนข้อเท็จจริง
สิ่งที่สภาวิศวกรดำเนินการได้นั้น จะทำได้เฉพาะผู้มีใบอนุญาตใบประกอบวิชาชีพวิศวกรควบคุมเท่านั้น อาชีพอื่นเราทำไม่ได้ ดังนั้น ผู้ไม่มีใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม และคนที่มีอนุญาตแต่กระทำล่วงละเมิดทางจรรยาบรรณ ซึ่งสภาวิศวกร มีกติกานี้อยู่
ซึ่งความรับผิดชอบ การทำให้ตึก สตง.ถล่ม ดร.ไกร อธิบาย ว่า จะแบ่งเป็น 4 ส่วนคือ
- ส่วนที่ 1 สตง.ในฐานะเจ้าของโครงการต้องรับรู้ เพราะคนจ้าง ดูสัญญา และตรวจรับงาน
- ส่วนที่ 2 คือ วิศวกรออกแบบ ต้องตรวจสอบในฐานะที่มีการเอาแบบของท่านไปใช้ในการก่อสร้าง
- ส่วนที่ 3 คือ วิศวกรควบคุมงาน ที่ต้องตรวจสอบว่า มีการควบคุมดีหรือยัง ทั้งการเทปูนได้มาตรฐานหรือไม่ การประมาณการความแข็งแรง การใช้เครนต่างๆ
- ส่วนที่ 4 คือ บริษัท ผู้รับเหมา ตรวจสอบว่ามีการสร้างตรงกับแบบหรือไม่ สร้างตรวจกับข้อกำหนด และมาตรฐานหรือ
ส่วนกรณีการโยนกันไปมาในการจะรับผิดชอบ ดร.ไกร มองว่า หากมีหลักฐานชี้แจงส่วนใดก็สามารถส่งให้สภาวิศวรตรวจสอบได้ โดยเฉพาะการประกอบวิชาชีพ ส่วนสาเหตุของตึก สตง.ถล่ม ก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องหาสาเหตุ
“บริษัทใหญ่ๆ ทุกบริษัท ก็จะต้องมีวิศวกร ที่จะต้องส่วนร่วมในการรับผิดชอบ ทั้งนี้เพื่อจะให้ดีที่สุดก็ควรจะต้องพักใบอนุญาต วิศวกรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้ง 4 ส่วน จะต้องมีส่วนรับผิดชอบหมด”
ส่วนเรื่องการนำลายเซ็นไปแอบอ้างมาใช้ในการควบคุมงาน ดร.ไกร มองว่า ผู้เกี่ยวข้องก็ต้องส่งหลักฐานเพื่อมาพิสูจน์ความจริง ซึ่งเรื่องนี้ดีเอสไออยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง
ส่วนกรณีวิศกรที่เกี่ยวข้อง ไปมีส่วนรู้เห็นกับการทุจริต จนทำให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้หรือไม่นั้น ดร.ไกร มองว่า อาจจะเป็นไปได้ เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของดีเอสไอที่จะต้องไปสืบสวนว่า มีการทุจริตหรือไม่ ส่วนสภาวิศวกร มีหน้าที่ดูแลตรวจสอบวิศวกรกว่า 2 แสนคนทั่วประเทศ ซึ่งหากพบว่า มีวิศวกรเข้าไปเกี่บวข้องกับการทุจริต ก็ต้องดำเนินการทางวินัยทั้ง พักใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพ และผลการตรวจสอบทางวินัยนี้จะนำไปประกอบการดำเนินคดีอาญาได้ด้วย
และวิศวกรที่มีรายชื่อของกิจการร่วมค้า PKW มีมากกว่า 50 คน ที่เข้าไปเกี่ยวข้อง บางคนมีลักษณะการขายลายเซ็น ทำให้ภาพลักษณ์วิศวกรเสียชื่อเสียงด้วยนั้น ดร.ไกร มองด้วยว่า ทางออกที่จะกู้ชื่อเสียงได้ ควรเริ่มต้นจากสภาวิศวกร ซึ่งมีหน้าที่ดูแลสมาชิกที่จดทะเบียนกับสภาฯ ในด้านการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ดังนั้นควรจะต้องมีบทลงโทษ ให้เป็นตัวอย่าง เพราะการสูญเสียชีวิตครั้งนี้ จะเป็นบทเรียนหลายอย่าง ทั้งการดำเนินการด้านกฎหมาย และการจัดการด้านจรรยาบรรณ วิชาชีพ เพราะชื่อเสียงของวิศวกรได้รับผลกระทบมาก
ดร.ไกร เชื่อว่า คดีนี้เป็นคดีใหญ่มาก และมีคนเสียชีวิตเยอะ ดังนั้นโทษก็ควรจะต้องรุนแรง และเชื่อว่า เคสของอาคาร สตง.ถล่ม จะต้องมีผู้ที่ได้รับบทลงโทษในการถูกถอนใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตามหาผู้รับผิดชอบ ดังนั้นหน้าที่เร่งด่วนของสภาวิศวกร ควรจะต้องรีบตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเรื่องนี้
ตั้งข้อสังเกตุการผ่านคุณสมบัติรับงานของ PKW หลังพบไม่มีประสบการณ์ทางด้านการควบคุมงานอาคารสูง
ดร.ไกร ยังตั้งข้อสังเกตุถึงคุณสมบัติของบริษัทกิจการร่วมค้าในการเข้ามารับงาน ด้วยว่า บริษัท วิศวกรคุมงาน คือ PKW โดย P มาจากบริษัทก่อสร้าง แต่มารับผิดชอบดูการควบคุมงาน ส่วน K ก็เป็นบริษัทก่อสร้าง แต่มาควบคุมงาน ส่วน W คือบริษัทไฟฟ้าและเครื่องกล
ซึ่งสิ่งที่น่าสงสัยคือ บริษัท P และ K ทำไมถึงผ่านคุณสมบัติไปได้ ดังนั้นคนที่จะต้องตรวจสอบคุณสมบัติคือ สตง. และบริษัทออกแบบ มาช่วยกันดูหรือไม่ ซึ่งถือเป็นข้อกำหนดในการคัดเลือกวิศวกรที่ปรึกษา ซึ่งหากดูตามคุณสมบัติการรับงาน ปกติก็จะไม่ผ่านคุณสมบัติ เพราะทั้ง P และ K ไม่ได้ผ่านการมีประสบการณ์ทางด้านการควบคุมงานอาคารสูง
โดยตามหลักการณ์แล้ว สตง.จะต้องมาตรวจคุณสมบัติก่อนว่าบริษัทดังกล่าวผ่านคุณสมบัติการรับงานหรือไม่ เพราะอาคาร 30ชั้นไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เป็นอาคารที่มีความซับซ้อนทางด้านงานระบบที่ยุ่งยาก ไม่ใช่แค่ตึก 2 ชั้น ดังนั้นจึงอยากตั้งคำถามว่า ผ่านคุณสมบัติตรงนี้ไปได้อย่างไร
ส่วน บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์10 คงจะใช้คุณสมบัติที่เคยสร้างรถไฟความเร็วสูง ร่วมกับอิตาเลียนไทยที่มีประสบการณ์อาคารมากเป็นที่ยอมรับจึงใช้เป็นคุณสมบัติมาได้
ทั้งนี้ ตนยังมองว่า ทางออกที่จะไม่ส่งผลให้เกิดปัญหาในลักษณะนี้ขึ้นอีก คนที่จะจดทะเบียนในประเทศไทย จะต้องดูว่าบริษัทนั้นจะทำอะไร จะเป็นผู้รับเหมา หรือออกแบบคุมงาน และศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษากระทรวงการคลัง คนที่จะมาทำวิศวกรออกแบบหรือวิศวกรควบคุมงานจะต้องจดทะเบียนในประเภทที่ปรึกษาอุตสาหกรรมก่อสร้าง
ซึ่งต้องไปดูในบัญชีว่าตรงหรือไม่ ส่วนสภาวิศวกร ต้องตรวจสอบการขอใบประกอบวิชาชีพสภาวิศวกรรมประเภทนิติบุคคล จะต้องดูแลให้ชัดว่าทำอะไร เป็นผู้รับเหมาหรือที่ปรึกษา เพราะมีเรื่องของชีวิตและทรัพย์สินมาเกี่ยวข้อง ซึ่งหากดำเนินการได้ ก็จะช่วยกรองคุณภาพของบริษัทที่จะเข้ามารับทำงานได้ และจะป้องกันการเกิดเหตุในอนาคตได้ด้วย