KUBET – เยอรมนี ตอบ “ภูมิธรรม” ไม่อาจขายเครื่องยนต์เรือดำน้ำให้ไทยได้

เยอรมนี ตอบ “ภูมิธรรม” ไม่อาจขายเครื่องยนต์เรือดำน้ำให้ไทยได้

จบแล้ว! “ภูมิธรรม” หารือ รมว.กลาโหมเยอรมนี ถามความคืบหน้าเครื่องยนต์เรือดำน้ำ ได้คำตอบไม่อาจขายให้ไทยได้ เหตุอยู่ในกลุ่มนาโต้-อียู มีข้อห้ามส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับจีน


เยอรมนี ตอบ \"ภูมิธรรม\" ไม่อาจขายเครื่องยนต์เรือดำน้ำให้ไทยได้

วันที่ 13 พ.ค. 68 เวลา 10.25 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี  นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหมประเทศไทย หารือทวิภาคีกับ นาย Boris Pistorius รมว.กลาโหมเยอรมนี  โดยนายภูมิธรรม ได้กล่าวชื่นชมเยอรมนีที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม United Nations Peacekeeping Ministerial Meeting ครั้งที่ 6 (UNPKM 2025) และแสดงความยินดีต่อการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของเยอรมนี ภายใต้การนำของ นาย Friedrich Merz พร้อมทั้งยินดีที่ รมว.กลาโหมเยอรมนี ยังคงดำรงตำแหน่ง สะท้อนถึงเสถียรภาพทางนโยบายด้านกลาโหม    
 
ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและเยอรมนี ที่มีมายาวนานถึง 163 ปี และมีการเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่เยอรมนีเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยในสหภาพยุโรป
 
ทั้งนี้ ไทยขอบคุณเยอรมนีที่สนับสนุนกำลังพลของไทยเข้ารับการศึกษาวิชาทหารในเยอรมนี ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพและความเป็นมืออาชีพทางทหารของกำลังพลไทย นอกจากนี้ ไทยยังประสงค์ที่จะแสวงหาความร่วมมือกับเยอรมนีใ นการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพ โดยเฉพาะด้านไซเบอร์และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงกองทัพให้มีความทันสมัย    
 
ขณะที่ เยอรมนีได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของอาเซียนด้วยดีเสมอมา และไทยยินดีที่เยอรมนีได้รับความเห็นชอบจาก รมว.กลาโหมอาเซียน ให้เป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการให้ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ และด้านความมั่นคงไซเบอร์ในกรอบ ADMM-Plus  ไทยยังมีความประสงค์ที่จะขอรับการสนับสนุนความร่วมมือด้านการแพทย์ทหารระหว่างศูนย์แพทย์ทหารนานาชาติของเยอรมนี กับศูนย์แพทย์ทหารอาเซียนของไทย


เยอรมนี ตอบ \"ภูมิธรรม\" ไม่อาจขายเครื่องยนต์เรือดำน้ำให้ไทยได้

กระทรวงกลาโหมของไทย กำลังพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตยุทโธปกรณ์และสิ่งอุปกรณ์ เพื่อพึ่งพาตนเองและเป็นหลักประกันด้านความมั่นคง รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการเอกชน โดยเฉพาะใน 4 ผลิตภัณฑ์เป้าหมาย ได้แก่ ยานพาหนะเพื่อความมั่นคง อุตสาหกรรมต่อเรือ อากาศยานไร้คนขับ และอาวุธและกระสุน  ไทยจึงขอให้เยอรมนีพิจารณาความเป็นไปได้ในการที่ไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และเชิญชวนเยอรมนีเข้าร่วมงาน Defense & Security 2025

   

นายภูมิธรรม ยังได้สอบถามความคืบหน้าจากกระทรวงกลาโหมเยอรมนี ว่าสามารถขายเครื่องยนต์เรือดำน้ำ ที่ไทยต้องการได้หรือไม่ ซึ่งทาง รมว.กลาโหมเยอรมนี ตอบว่า แม้จะมีความสัมพันธ์ที่ดีและอยากช่วยเหลือไทย แต่ด้วยข้อจำกัดที่เยอรมนีอยู่ในกลุ่มนาโต้ กลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ได้มีข้อห้ามส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับจีน จึงไม่อาจขายเครื่องยนต์เรือดำน้ำให้กับไทยได้ ซึ่งตนก็เข้าใจ พร้อมระบุว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นอุปสรรคต่อความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ เรายังคงพัฒนาความสัมพันธ์ให้เติบโตต่อไป