KUBET – “ดร.ณัฎฐ์” สอนมวย “เลขากฤษฏีกา” ไม่ยึดหลักกม. ปม รักษาการนายกฯ “ยุบสภา”

“ดร.ณัฎฐ์” สอนมวย “เลขากฤษฏีกา” ไม่ยึดหลักกม. ปม รักษาการนายกฯ “ยุบสภา”

“ดร.ณัฐฎ์”  กางรัฐธรรมนูญ สอนมวย “ปกรณ์ นิลประพันธ์” เลขากฤษฎีกา ปม รักษาการนายกฯ ยุบสภาไม่ได้ ชี้ เป็นความเห็นไม่ยึดหลักกฎหมายนำมาใช้ไม่ได้ หนุนความเห็น”วิษณุ เครืองาม”  ตอกย้ำ รักษาการนายกฯยุบสภาได้ ในช่วงถูกศาลรธน.หยุดปฏิบัติหน้าที่ 

7 กรกฎาคม 2568  “ดร.ณัฎฐ์ “ หรือ  ณัฐวุฒิ  วงศ์เนียม  นักกฎหมายมหาชน ออกมาให้ความเห็นกรณีที่ นายปกรณ์  นิลประพันธ์  เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฏีกา โพสต์แสดงความเห็นว่า รองนายกฯในฐานะรักษาราชการแทนนายกฯ ไม่มีอำนาจยุบสภา  ซึ่งสวนทางกับ ความเห็น อดีตรองนายกฯ และอดีตเลขาธิการครม. นายวิษณุ เครืองาม ที่เห็นว่า  รักษาราชการแทนนายกฯ ยุบสภา ได้ ว่า  

“ผมเห็นต่าง จาก เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นไม่ยึดรัฐธรรมนูญ อ้างรูปแบบ การปกครองอังกฤษ อยากให้ดู รัฐธรรมนูญและข้อจำกัดหนังสือมอบอำนาจให้รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี จำกัดอำนาจเฉพาะ การบริหารงานบุคคลและงบประมาณจะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีตัวจริงเสียก่อน ภายหลัง มติ ครม.ล่าสุด (  3 ก.ค. 68 ) ไปเพิ่มอำนาจให้ ผู้รักษาการนายกรัฐมนตรีให้มีอำนาจเต็ม” 

ดร.ณัฎฐ์ กล่าวว่า  ส่วนเลขากฤษฎีกา ระบุว่า  รักษาราชการแทนนายกฯ ไม่มีอำนาจยุบสภา คำถาม คือว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภา เป็นอำนาจฝ่ายบริหาร เป็นอำนาจผู้ใช้อำนาจในการตรากฎหมาย ตามมาตรา 103 วรรคหนึ่ง ย่อมหมายถึง ผู้มีอำนาจเต็มรวมถึง ในฐานะผู้รักษาการนายกรัฐมนตรี  และ ย้ำว่า เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่จะลงพระปรมาภิไธย หรือไม่ก็ได้  

ส่วน ที่อ้างว่า ”ประธานสภา …. กราบบังคมทูลว่า สภาลงมติไว้วางใจให้ นาย/นางสาว … เป็นนายกรัฐมนตรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี


ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน

โดยนัยนี้เอง รองนายกรัฐมนตรี (รนม.) รักษาราชการแทนนายกฯ จึงไม่มีอำนาจเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรี หรือเสนอให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง เพราะ รองนายกฯ รักษาราชการแทน นรม. นั้นเป็นเพียงรัฐมนตรีคนหนึ่งซึ่งได้รับความไว้วางใจจาก นายกรัฐมนตรี  เฉกเช่นเดียวกับ รมต. คนอื่น ไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร จึงจะแต่งตั้งหรือปลด รมต. คนอื่นๆ มิได้

หรือยิ่งไปกว่านั้นคือ รองนายกฯ รักษาราชการแทน นายกรัฐมนตรี  จะเสนอให้ยุบสภา ถ้ายังมีผู้ดำรงตำแหน่ง นรม. อยู่ ยิ่งไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้ได้รับความไว้วางใจจากสภาให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร หากเป็นเพียงผู้ซึ่ง นรม. ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ว่าเป็นผู้สมควรไว้วางใจให้แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีเท่านั้น 

ถ้า นรม. พ้นจากตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน นายกรัฐมนตรี  จะมีอำนาจเช่นนั้นหรือไม่ ต้องทราบว่าถ้า นายกรัฐมนตรี  พ้นจากตำแหน่งไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ผลคือคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และรัฐธรรมนูญบัญญัติรองรับไว้ว่า เมื่อ ครม. พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้ดำเนินการเพื่อให้มี ครม .ขึ้นใหม่ implication จึงชัดเจนว่าสภาต้องดำเนินการเพื่อให้มีการเลือก ครม. ใหม่ขึ้น“

ตรงนี้ ผมเห็นว่า ท่านให้ความเห็นไม่ยึดหลักกฎหมาย 

 

นักกฎหมายมหาชน ท่านนี้ กล่าวว่า  หากไล่เรียงที่มานายกรัฐมนตรี มาจากเสียงส่วนใหญ่ เลือกนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 วรรคสาม โดยใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 

กลไกรัฐธรรมนูญมาตรา 158 วรรคสาม ให้อำนาจประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงนามรับสนองราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี หมายความว่า ประธานรัฐสภามีหน้าที่ทางธุรการในการ เป็นผู้เสนอรายชื่อนายกรัฐมนตรีโดยทูลเกล้าและรับสนองราชโองการ เป็นไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ

แม้นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ รองนายกรัฐมนตรีมีอำนาจตามมาตรา 41 แห่ง พรบ.การบริหารราชการแผ่นดิน หมายความว่า ผู้รักษาการแทนนายกรัฐมนตรีมาทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจในทางการเมืองและเป็นหัวหน้าฝ่ายปกครองในสถานะหนึ่ง 


ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน

ผู้รักษาการราชการแทน ย่อมมีอำนาจเต็ม ในการตรากฎหมายฝ่ายบริหารได้ เช่น พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกายุบสภา ถือว่า เป็นกฎหมายฉบับหนึ่ง ตราโดยฝ่ายบริหาร 

รัฐธรรมนูญ มาตรา 103 เป็นพระราชอำนาจเด็ดขาดของพระมหากษัตริย์ โดยรัฐธรรมนูญไม่มีบทบัญญัติใดระบุว่า นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ถวายคำแนะนำ เพียงแต่ประเพณีการปกครอง เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี 

ในระหว่างนายกรัฐมนตรีตัวจริง หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว  อำนาจสมบูรณ์ในการยุบสภา เป็นอำนาจของผู้รักษาการนายกรัฐมนตรี ย่อมมีอำนาจยุบสภาได้ 

หากว่า ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง ย่อมหมายถึง สถานะ ความเป็นรัฐมนตรีทั้งคณะสิ้นไป ครม.รักษาการระหว่างสรรหานายกรัฐมนตรี จุดช่วงเวลานี้ รักษาการนายกรัฐมนตรีไม่อาจยุบสภาได้

 

ยืนกราน รักษาราชการแทนนายกฯยุบสภาไม่ได้ 

ทั้งนี้  เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2568  นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Alex Pakorn” ว่า อธิบายซ้ำ : ผมอธิบายว่าตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของบ้านเรา การเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรีและการยุบสภา เป็นอำนาจเฉพาะตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเท่านั้น เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศที่ปกครองในระบอบรัฐสภาแบบ Westminster เป็นไปตาม “หลักความไว้วางใจ”

ประเทศไทยจะเห็นได้ชัดในประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีความสรุปว่า ประธานสภา …. กราบบังคมทูลว่าสภาลงมติไว้วางใจให้ นาย/นางสาว … เป็นนายกรัฐมนตรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี


ปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

ส่วนกรณีประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ก็ชัดเจนว่า บัดนี้นาย/นางสาว … นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรไว้วางใจให้เป็นรัฐมนตรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้เป็นรัฐมนตรี

จะเห็นได้ชัดว่าเป็นความไว้วางใจมาเป็นทอดๆ และพระมหากษัตริย์ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ตามที่สภาเสนอและประธานสภานำความกราบบังคมทูล หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามที่นายกรัฐมนตรีกราบบังคมทูลว่าสมควรไว้วางใจ

โดยนัยนี้เอง รองนายกรัฐมนตรี (รนม.) รักษาราชการแทนนายกฯ จึงไม่มีอำนาจเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรี หรือเสนอให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง เพราะ รนม. รักษาราชการแทน นรม. นั้นเป็นเพียงรัฐมนตรีคนหนึ่งซึ่งได้รับความไว้วางใจจาก นรมซ เฉกเช่นเดียวกับ รมต. คนอื่น ไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร จึงจะแต่งตั้งหรือปลด รมต. คนอื่นๆ มิได้

หรือยิ่งไปกว่านั้นคือ รนม. รักษาราชการแทน นรม. จะเสนอให้ยุบสภา ถ้ายังมีผู้ดำรงตำแหน่ง นรม. อยู่ ยิ่งไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้ได้รับความไว้วางใจจากสภาให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร หากเป็นเพียงผู้ซึ่ง นรม. ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ว่าเป็นผู้สมควรไว้วางใจให้แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีเท่านั้น การยุบสภาจึงเป็นอำนาจเฉพาะของ นรม. เท่านั้น

กล่าวได้ว่าการกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รมต. ก็ดี หรือถวายคำแนะนำให้ยุบสภาก็ดี เป็นเรื่องของ นรม. ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากสภาให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยแท้

ถ้า นรม. พ้นจากตำแหน่ง รนม. รักษาราชการแทน นรม. จะมีอำนาจเช่นนั้นหรือไม่ ต้องทราบว่าถ้า นรม. พ้นจากตำแหน่งไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ผลคือคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และรัฐธรรมนูญบัญญัติรองรับไว้ว่า เมื่อ ครม. พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้ดำเนินการเพื่อให้มี ครม .ขึ้นใหม่ implication จึงชัดเจนว่าสภาต้องดำเนินการเพื่อให้มีการเลือก ครม. ใหม่ขึ้น

“วิษณุ”ชี้ รักษาราชการแทนนายกฯยุบสภาได้ 

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2568 นายวิษณุ  เครืองาม อดีตรองนายกฯและอดีตเลขาธิการครม. เปิดเผยเนชั่นทีวีว่า ตอนนี้มีมุมความเห็นอำนาจรักษาการนายกฯมีอำนาจยุบสภา ได้หรือไม่ ออกมาเป็นสองฝั่ง แต่ส่วนตนเห็นว่า มีอำนาจยุบสภาได้

“เรื่องนี้ ยอมรับว่ามีข้อถกเถียงกันมานานแล้ว  ยอมรับมีสองความเห็น   ความเห็นแรก เมื่อเป็นรักษาการนายกฯสามารถทำอะไรได้ทุกอย่างเหมือนนายกฯ อีกความเห็นบอกว่า ไม่ได้ เป็นอำนาจเฉพาะตัวของนายกฯ 


วิษณุ    เครืองาม อดีตรองนายกรํฐมนยตรีและอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรตี

“ผมเห็นไปในทางที่ว่าสามารถยุบสภาได้  อยู่ที่ว่าพระเจ้าอยู่หัว ท่านจะลงพระปรมาภิไธยได้หรือไม่  เมื่อท่านลงพระปรมาภิไธยให้หรือไม่  ถ้าถวายขึ้นไป ท่านลงพระปรมาภิไธยมา แล้วใครจะมาเถียงกันว่า ใครทำผิดรัฐธรรมนูญ”   นายวิษณุ กล่าวกับเนชั่นทีวี 2 ก.ค.68