KUBET – “กัณวีร์” จี้รัฐบาลไทย จัดการปัญหาค่ายผู้ลี้ภัย ผลักเป็นแรงงานถูกกฎหมาย “เปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง”

“กัณวีร์” จี้รัฐบาลไทย จัดการปัญหาค่ายผู้ลี้ภัย ผลักเป็นแรงงานถูกกฎหมาย “เปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง”

“กัณวีร์” จี้รัฐบาลไทยต้องกล้าหาญชูธงมนุษยธรรม จัดการปัญหาค่ายผู้ลี้ภัยที่เรื้อรังมา 40 ปี ผลักเป็นแรงงานถูกกฎหมาย เพื่อ “เปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง” อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

7 กรกฎาคม 2568 นายกัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม เปิดเผยว่า วิกฤตมนุษยธรรมที่รัฐบาลไทยเพิกเฉยไม่ได้ จากกรณีการตัดงบประมาณองค์กรสาธารณกุศลของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ตามคำสั่งของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลกระทบโดยตรงกับศูนย์พักพิงชั่วคราว ทั้ง 9 แห่ง บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ซึ่งผู้หนีภัยการสู้รบจากประเทศเมียนมา อพยพมากว่า 40 ปี 

 


\"กัณวีร์\" จี้รัฐบาลไทย จัดการปัญหาค่ายผู้ลี้ภัย ผลักเป็นแรงงานถูกกฎหมาย \"เปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง\"

“จริงๆพวกเค้าก็คือผู้ลี้ภัยนั่นแหละครับ แต่ประเทศไทยเราไม่สามารถจะให้สถานะผู้ลี้ภัยกับพวกเค้าได้ ไม่สามารถตั้งค่ายผู้ลี้ภัยได้ เพราะไทยไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัยปี 1951 (1951 Refugee Convention) ไทยจึงดูแลผู้ลี้ภัยเหล่านี้อย่างมีข้อจำกัดมาตลอด 40 ปี โดยเฉพาะการพึ่งพางบประมาณจากองค์กรระหว่างประเทศ/องค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGOs ไทยและต่างชาติ โดยที่ผู้ลี้ภัยไม่สามารถออกนอกค่ายได้ (ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยและการวางนโยบายของ สมช.) จะว่าไปแล้วก็ไม่ต่างจากค่ายกักกันดีๆ นี่เอง”

นายกัณวีร์ กล่าวว่า ตั้งแต่ตนมาทำงานการเมือง ถ้ายังจำกันได้ หนึ่งในนโยบายที่ผมเสนอในการนำหลักการ ‘มนุษยธรรมนำการเมือง’ โดยเฉพาะกับการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยชาวเมียนมา ที่ผมเสนอให้ ‘เปิดเพื่อปิด’ นั่นคือข้อเสนอเมื่อกว่า 2 ปี ที่แล้ว 

 

 


\"กัณวีร์\" จี้รัฐบาลไทย จัดการปัญหาค่ายผู้ลี้ภัย ผลักเป็นแรงงานถูกกฎหมาย \"เปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง\"

 


\"กัณวีร์\" จี้รัฐบาลไทย จัดการปัญหาค่ายผู้ลี้ภัย ผลักเป็นแรงงานถูกกฎหมาย \"เปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง\"

 


\"กัณวีร์\" จี้รัฐบาลไทย จัดการปัญหาค่ายผู้ลี้ภัย ผลักเป็นแรงงานถูกกฎหมาย \"เปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง\"

 

“จากประสบการณ์ทำงานผู้ลี้ภัยตั้งแต่ที่ประเทศไทยจนเมียนมา ผมรับผิดชอบโดยตรงในการดูแลค่ายผู้ลี้ภัยทั้ง 9 แห่งในไทย และในเมียนมา ผมจึงเข้าใจสภาพปัญหาดีว่าการจะปิดค่ายในประเทศไทย เพื่อส่งกลับผู้ลี้ภัยไปเมียนมา ยังเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะเราใช้เวลามา 40 ปี ยังทำไม่ได้ อีกทั้งปัญหาการเมืองในเมียนมาหลังการรัฐประหาร ยิ่งมีผู้ลี้ภัย และผู้พลัดถิ่นในประเทศเพิ่ม การส่งกลับคนกว่า 80,000 คน ย่อมทำไม่ได้ในชั่วข้ามคืน หรือจะทำได้ในช่วง 2-3 ปี มันอาจใช้เวลามากกว่า 10 ปี ด้วยซ้ำ”

 

นายกัณวีร์ ระบุว่า จากการตัดงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐฯ ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระทบการดูแลผู้ลี้ภัยตามค่ายผู้ลี้ภัยต่างๆแน่นอน เพราะเราพึ่งพาแต่งบต่างชาติ ต้องย้ำนะครับว่า การดูแลค่ายผู้ลี้ภัยไม่ได้ใช้งบรัฐบาลไทย นอกจากงบของเจ้าหน้าที่กรมการปกครองที่ดูแลค่าย ดังนั้นพวกเขาไม่ใช่ภาระของคนไทย แต่เมื่อเกิดวิกฤตงบประมาณ ไทยในฐานะเจ้าของพื้นที่ต้องหาทางออกเพื่อมนุษยธรรม 

 

“ผมได้เสนอไปตั้งแต่แรกว่าการ เปิดเพื่อปิด หมายถึง เปิดให้ผู้ลี้ภัยได้เป็นแรงงานถูกกฎหมาย ได้ออกมานอกค่าย ได้ทำงานเพื่อจะมีรายได้ ต้องเข้าใจนะครับว่าคนในค่ายที่อยู่มา 40 ปี ต่างผ่านมาหลายรุ่นแล้ว บางคนเกิดในค่าย มีลูกหลาน มารุ่นต่อรุ่นแล้ว คนพวกนี้มีความรู้ความสามารถ ที่ได้รับการศึกษาในค่าย ถ้าเราจัดหางานที่เหมาะสม พวกเขาสามารถมีรายได้เลี้ยงชีพ เลี้ยงครอบครัว ไม่ต้องพึ่งพางบประมาณ ย่อมเป็นทางออกที่ดี”

 

นายกัณวีร์ กล่าวย้ำว่า เราไม่ได้ให้เขามาแย่งงานคนไทย เพราะเรามีความต้องการแรงงานข้ามชาติอยู่แล้ว เราไม่สูญเสียอะไรเลย มีแต่ได้แรงงานมาทำงาน และยังแสดงศักยภาพของไทยในการช่วยเหลือมนุษยธรรมอย่างยิ่งใหญ่ด้วย

“ที่ผมเสนอให้นำผู้ลี้ภัยในพื้นที่พักพิงฯ มาทำงานข้างนอกมีเหตุผลอื่นๆ อีก 6 ประการ คือ ด้านแรงงาน ด้านภาษี ด้านประชากรศาสตร์ และด้านความมั่นคงครับ

เรื่องแรงงาน คือ หนึ่ง เมื่อเทียบสัดส่วนแล้วจำนวนวัยแรงงานของประชากรผู้ลี้ภัยใน 9 แห่ง ประมาณ 65% คิดเป็นประมาณ 52,000 คน เมื่อเทียบกับจำนวนการว่างงานของแรงงานไม่มีทักษะหรือทักษะต่ำของกระทรวงแรงงานที่คนไทยไม่ทำมีจำนวนกว่า 2 แสนอัตรา !! ทำไมไม่เอาเค้ามาเติมเต็ม ??

สอง แรงงาน MOU ที่นำเข้าจากเมียนมาชะงักลงเพราะสถานการณ์ในเมียนมาเองและรวมถึงสถานการณ์การสู้รบบริเวณชายแดน ไทยขาดแคลนครับ นี่ยังไม่รวมถึงสถานการณ์ไทย-กัมพูชา ที่จะกระทบการนำเข้าแรงงาน MOU จากกัมพูชาอย่างแน่นอน แล้วไทยจะทำอย่างไร จะพึ่งการนำเข้าแรงงาน MOU จากลาวและเวียดนามอย่างเดียวคงไม่ได้ ดังนั้น นำเค้าเข้ามาจากพื้นที่ทั้ง 9 แห่งครับ

สาม ผู้ลี้ภัยที่ลักลอบ ออกมาทำงานนอกพื้นที่ทั้ง 9 แห่ง จะไม่ต้องตกอยู่กับขบวนการเก็บส่วยและนำพาออกมาทำงานอย่างผิดกฎหมายอีกต่อไป เงินเป็นหมื่นๆ ล้านบาทที่สะพัดจากการเก็บค่าส่วย ค่านายหน้า ค่าต่างๆ นาๆ อย่างผิดกฎหมายอาญาแผ่นดินจากผู้รักษากฎหมายต่างๆ จะหมดไป รัฐบาลกล้าหรือไม่ ??

สี่ ด้านภาษี เมื่อเค้าทำงานเป็นแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย การชำระภาษีทั้งของทางนายจ้างและลูกจ้างเองต่อประเทศไทยก็จะเป็นรายรับที่สามารถประมาณการได้ว่าจะได้เท่าไหร่ต่อปี ซึ่ง 5 หมื่นกว่าคนต่อปีก็เยอะเอาเรื่องอยู่นะครับ แถมในเชิงสิทธิมนุษยชน เมื่อเค้าเสียภาษีเหมือนคนไทยและโดยไม่แย่งงานคนไทยแล้ว เค้าสามารถเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ เหมือนแรงงานข้ามชาติทั่วไป ลูกๆ ก็สามารถได้รับการศึกษาจากภาษีและค่าใช้จ่ายที่เค้าจ่ายให้กับรัฐ เค้าจะไม่มาแย่งสวัสดิการคนไทยอย่างฟรีๆ ตามที่คิดกันอยู่ ทำไมไม่ทำ ??

ห้า เรื่องประชากรศาสตร์ อีก 60 ปีข้างหน้า ประชากรของไทยจะลดลงเหลือเพียงคือ 30 กว่าล้านคน !! เราจะเอาประชากรที่ไหนมาร่วมพัฒนาประเทศ ในเชิงปริมาณเราจะไม่สามารถหาประชากรมาเพิ่มได้ทันเพราะเราเป็นสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบไปแล้ว คัดคนเข้ามาเพิ่มครับ และให้มาร่วมพัฒนาประเทศตั้งแต่ตอนนี้ให้มาก เน้นคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพไปด้วยในตัว ทำได้หรือไม่ ??

สุดท้าย ด้านความมั่นคง พื้นที่พักพิงฯ ทั้ง 9 แห่ง ถือเป็นภัยความมั่นคงของชาติมาอย่างยาวนาน หน่วยข่าวทหารและพลเรือนถูกส่งแฝงตัวเข้าไปดูว่าเค้ามีความเคลื่อนไหวอะไรหรือไม่ มีการจัดกำลังทหารลาดตระเวนอยู่แล้วในบริเวณชายแดน แต่ก็ต้องมาสอดส่องในพื้นที่ทั้ง 9 ด้วย เนื่องจากเป็น 1 ใน “ภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติ” ดังนั้น ปิดเสียเถอะครับ เปลี่ยน “ภาระ” นี้ให้เป็น “พลัง” ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยในเชิงเศรษฐกิจ การพัฒนา มนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน”

 

 

นายกัณวีร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นี่คือการทำงานแบบ Win Win Solution คือคิดยังไงมุมใดก็ตามเราได้ผลในเชิงบวกทั้งนั้น นี่ยังไม่รวมถึงหน้าตาประเทศไทยในเวทีโลกเสียอีกที่ไทยนี่แหละจะครองความเป็นคนแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยที่มีความเรื้อรังกว่า 40 ปีที่มีความยาวนานเป็นที่ 2 ของโลกใบนี้ได้

 

“กล้าหรือไม่ นี่คือคำถามแรก ข้อที่สอง รู้หรือไม่ว่าต้องทำอย่างไร เป็นคำถามที่สอง ถ้าหากไม่รู้ ตามที่ผมเคยพูดไปครับ “ถามผู้รู้” อย่าอายและกลัวว่าทำไม่ได้ รัฐบาลไทยต้องกล้าหาญที่จะชูธงแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืนครับ ทำไม่ยาก และต้องเริ่มแสดงตัวที่จะทำได้แล้วครับ ตอนนี้ทุกฝ่ายต่างเห็นด้วยกับแนวทางนี้ หวังว่าจะมีการผลักดันไปสู่การแก้ไขปัญหา ถ้าเปิดให้พวกเขาได้ทำงานอย่างถูกกฎหมายในอนาคต เราก็จะปิดค่ายผู้ลี้ภัยที่ยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งในโลกนี้ได้เสียทีครับ“ นายกัณวีร์ กล่าวย้ำ