KUBET – แฉมุกใหม่ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ส่งผลสถิติคดีหลอกลวงสวิงกลับ

แฉมุกใหม่ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ส่งผลสถิติคดีหลอกลวงสวิงกลับ

เปิดมุกใหม่ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ใช้ AI โกงอย่างแนบเนียน โดยเฉพาะการยืนยันตัวตน ส่งผลให้สถิติคดีกลับมาสวิงเพิ่มขึ้น

1 พฤษภาคม 2568 ปฏิบัติการปราบ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” โดยเฉพาะ “มาตรการ 3 ตัด” ประสบความสำเร็จมาระยะหนึ่ง ทำให้สถิติการหลอกลวง โดยเฉพาะหลอกโอนเงิน ลดลงอย่างชัดเจนในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แต่ล่าสุดคดีสแกมเมอร์ หรือ หลอกลวงออนไลน์ เริ่มดีดกลับ ทำให้ กสทช.และฝ่ายบังคับใช้กฎหมายต้องเร่งวางมาตรการแก้ไขปัญหาเป็นการด่วน

 

โดยในวันที่ 2 พฤษภาคม 2568 พล.ต.อ.ณัฐธร เพราะสุนทร กสทช.ด้านกฎหมาย ในฐานะประธานอนุกรรมการบูรณาการบังคับใช้กฎหมายความผิดทางเทคโนโลยีฯ พร้อมด้วยฝ่ายตำรวจ ปปง. สมาคมธนาคาร ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้นัดประชุมหารือกันเพื่ออัปเดตข้อมูล และวางมาตรการให้สอดรับกับ พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2568 หรือ “พ.ร.ก.ไซเบอร์” ซึ่งเพิ่งมีผลบังคับใช้ใหม่ เมื่อวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา

 

สาเหตุที่ต้องมีการเรียกประชุมกัน นอกจากสถิติคดีหลอกลวงเริ่มดีดกลับแล้ว ยังพบรูปแบบการหลอกลวงแบบใหม่ที่น่ากลัวกว่าเดิม และปิดข้อจำกัดหรือช่องโหว่เดิมๆ ไว้ได้ทั้งหมด ทำให้การหลอกลวงเนียนขึ้น สำเร็จง่ายขึ้น สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนในวงกว้าง

วิธีการหลอกลวงแบบใหม่ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์

 

1.เปิด “บริษัทบัญชีม้า” ใช้ AI สแกนใบหน้าแทนคนจริง!

 

กรณีที่ 1 แก๊งคอลเซ็นเตอร์ซึ่งตั้งฐานอยู่ในต่างประเทศ หรือตามแนวชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเคยใช้ “บัญชีม้า” โดยการจ้างให้คนไปเปิดบัญชีธนาคาร แล้วนำบัญชีมาให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ถือไว้ เมื่อหลอกให้เหยื่อโอนเงินได้ ก็จะมีทีมไปเบิกเงินจากบัญชี หรือจากตู้เอทีเอ็ม ก่อนส่งเข้าเครือข่ายคอลเซ็นเตอร์นั้น

 


แฉมุกใหม่ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ส่งผลสถิติคดีหลอกลวงสวิงกลับ

 

ที่ผ่านมา แก๊งคอลเซ็นเตอร์พบปัญหา โอนเงินบ่อย และโอนด้วยยอดเงินสูงกว่าที่ธนาคารกำหนด ทำให้ธนาคารติดต่อกลับไปยังเจ้าของบัญชี เพื่อให้ยืนยันตัวตน หรือหากเป็นธุรกรรมต้องสงสัย เจ้าของบัญชีก็จะถูกเชิญตัวไปสอบ หรือไม่ก็ “ทีมม้าเร็ว” ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ต้องวิ่งไปกดเงินจากตู้เอทีเอ็ม อาจถูกซ้อนแผนดักจับกุมได้

แก๊งคอลเซ็นเตอร์จึงพยายามแก้ปัญหานี้ ด้วยการใช้วิธีโอนเงินผ่านแอปพลิเคชั่นของธนาคาร แต่ก็ยุ่งยาก เพราะปัจจุบันมีระบบ Live Detection หรือระบบการยืนยันตัวตนโดยใช้บันทึกภาพเคลื่อนไหวว่าเป็นเจ้าของบัญชีจริงๆ เช่น กะพริบตา พยักหน้า หันซ้ายหันขวา ทำให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์โอนเงินไม่สะดวก

 

ล่าสุด มีแก๊งคอลเซ็นเตอร์บางแห่ง ใช้วิธีเปิดบัญชีบริษัท ในลักษณะ “บัญชีนิติบุคคล” แต่เป็น “นิติบุคคลผี” แล้วรวบรวมบัญชีม้าจากเครือข่ายที่ให้ไปเปิดบัญชีเอาไว้ รวบรวมส่งให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่อยู่ต่างประเทศ โดยซิมโทรศัพท์ที่ใช้ แม้แต่ซิมที่ยืนยันบัญชีนิติบุคคล ก็เป็น “ซิมผี”

 

สิ่งที่ส่งไปให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ประกอบด้วย

 

 – บัญชีธนาคาร

 – โทรศัพท์พร้อมซิมที่ผูก “โมบาย แบงกิ้ง“ เอาไว้แล้ว โดยมีแอปฯธนาคารรวมอยู่ด้วย

 – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

 

และสิ่งสำคัญที่สุดวิธีการใหม่ของแก๊งคอลฯที่เพิ่มใหม่เข้ามา คือ รูปถ่ายของเจ้าของบัญชีม้า ทั้งภาพนิ่ง และคลิป ในท่าหันซ้าย หันขวา ก้มหน้า เงยหน้า อ้าปาก กะพริบตา โดยข้อมูลภาพถ่ายและคลิปเหล่านี้ จะนำไปส่งให้ AI ทำเลียนแบบ และสร้างภาพเสมือนจริงขึ้นมา สำหรับใช้ทำธุรกรรมต่างๆ แทนคนจริงๆ 

 


แฉมุกใหม่ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ส่งผลสถิติคดีหลอกลวงสวิงกลับ

 

ผลคือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์จะโอนเงินได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และไม่จำกัดยอดเงิน หรือกำหนดยอดโอนต่อวันเอาไว้สูงๆ และหลายๆ ครั้งได้ โดยไม่ถูกตรวจสอบ และธนาคารก็จะไม่ติดต่อไปที่เจ้าของบัญชีม้า เพราะมี AI ยืนยันตัวตนแทน

 

วิธีการนี้ทำให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ รับโอนเงินสะดวก รวดเร็ว และไม่มีปัญหาเหมือนช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งจะต้องส่งบัญชีธนาคาร และโทรศัพท์พร้อมซิม กลับมายังประเทศไทย เพื่อให้เจ้าของบัญชีแก้ปัญหาให้โอนเงินได้เป็นครั้งๆ และแก๊งคอลเซ็นเตอร์จะต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็น “ค่าเสียเวลา” เพิ่มครั้งละ 300-500 บาท ให้กับเจ้าของบัญชี แต่เมื่อใช้ AI ก็จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ทั้งหมด

 

เคสที่นำมาตีแผ่นี้ ไม่ใช่จินตนาการ แต่เกิดขึ้นจริงแล้ว และจับกุมต้นทางบัญชีม้า พร้อมหลักฐานได้ที่จังหวัดจันทบุรี พบบัญชีม้าทั้งหมดถึง 429 บัญชี จากเจ้าของบัญชีม้า 179 คน

 

2. แก๊งหลอกลวงออนไลน์ “สแกมเมอร์” ใช้เทคโนโลยี Deepfake นำใบหน้าเจ้าหน้าที่จริงๆ มาสวมรอย ใส่เสียง และขยับปากเข้าไป / ทำเป็นคลิปหลอกให้โอนเงิน / โดยใบหน้าที่นำมาสวมรอย มีทั้งโฆษก กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากหน่วยตำรวจไซเบอร์รวมอยู่ด้วย แบบนี้เรียกว่ายิ่งกว่า “เหยียบจมูก – ล้วงคองูเห่า” กันเลยทีเดียว 

 

ที่ร้ายแรงกว่านั้น คือ ใช้ AI เจนเนอเรทวิดีโอหลอกลวงขึ้นมา ซึ่งเนียนกว่า และเหมือนจริงกว่า “วิดีโอคอล” หลายเท่า แต่การใช้ AI สร้างวิดีโอขึ้นมานี้ ยังทำเรียลไทม์ไม่ได้ แต่ก็ถือว่าน่ากลัว

 

รูปแบบการหลอกลวงใหม่ๆ เหล่านี้ ทำให้อนุ กสทช.ด้านกฎหมายของ พล.ต.อ.ณัฐธร ต้องเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวันพรุ่งนี้

 

สำหรับมาตรการเสริมอื่นๆ เพื่อรองรับ พ.ร.ก.ไซเบอร์ ที่แก้ไขใหม่ และเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช.โดยตรง ก็คือ มาตรา 8/10 ที่กำหนดให้ สถาบันการเงิน หรือผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ และผู้ให้บริการโทรคมนาคมอื่น ตลอดจนผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

 


พล.ต.อ.ณัฐธร เพราะสุนทร กสทช.ด้านกฎหมาย

 

เรื่องนี้ พล.ต.อ.ณัฐธร เผยว่า ที่ประชุม กสทช. มีมติกำหนดมาตรฐานและมาตรการเพื่อป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้สอดรับกับ พ.ร.ก.ไซเบอร์ที่ออกมาใหม่ โดยได้กำหนดมาตรฐานหรือมาตรการขึ้นมาก่อน เพื่อให้ผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการนำไปปฏิบัติ หากไม่ปฏิบัติตาม หรือปฏิบัติไม่ครบ แล้วลูกค้าถูกหลอกลวง ได้รับความเสียหาย ทางสถาบันการเงิน หรือผู้ให้บริการโทรศัพท์ ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย

 

โดยมาตรฐานและมาตรการที่จำเป็น ได้แก่ ผู้ประกอบการทุกรายต้องมีหน้าที่ในการตรวจสอบคัดกรองผู้ใช้บริการที่มีลักษณะที่ผิดปกติ เช่น

 

 – โทรออกอย่างเดียว

 – โทรหาผู้รับที่ไม่ซ้ำกันเลย 

 – มีปริมาณการโทรต่อวันเป็นจำนวนมากผิดปกติ

 – โทรออกจากตำแหน่งเดียวกันทุกครั้ง หรือโทรจากพื้นที่แนวชายแดน

 

เหล่านี้ ผู้ให้บริการต้องระงับการใช้งานทันที แล้วเรียกเจ้าของเลขหมายมายืนยันตน

 

นอกจากนั้น ผู้ให้บริการมีหน้าที่ตรวจสอบย้อนกลับเบอร์ที่จดทะเบียนใหม่ภายในสัปดาห์แรกว่า ข้อมูลที่รับจดทะเบียนถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่ และอาจพิจารณาให้มีการยืนยันการลงทะเบียนใหม่ทุกๆ 1 ปี เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยครบถ้วน

 

รวมทั้งการกำหนดให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการโทรคมนาคม มีหน้าที่ตรวจสอบ SMS และ SMS แนบ Links ก่อนจัดส่ง เพื่อตรวจสอบว่าไม่ใช่ลิงก์หลอกลวงด้วย

 

หากสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการรายใดไม่ปฏิบัติตาม หรือปฏิบัติไม่ครบตามมาตรการที่กำหนด แล้วเกิดการหลอกลวงขึ้น สถาบันการเงินและผู้ให้บริการต้องร่วมรับผิดชอบ ตามที่บัญญัติในกฎหมาย