KUBET – “สมศักดิ์ เทพสุทิน” ยกคลินิกให้บริการชาว “อุตรดิตถ์-พิษณุโลก”
“สมศักดิ์ เทพสุทิน” ยกคลินิกให้บริการชาว “อุตรดิตถ์-พิษณุโลก”
“สมศักดิ์ เทพสุทิน” ยกคลินิกให้บริการสาธารณสุข ชาว “อุตรดิตถ์-พิษณุโลก” วางแผนแก้ปัญหาสาธารณสุข 3 ระยะ ผลักดันเทเลเมดิซีน-ป้องกันโรค NCDs-เพิ่มบุคลากรทางการแพทย์
23 พฤษภาคม 2568 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีเปิดโครงการบริการทุกช่วงวัยด้วยความห่วงใยจากกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี นายศิริวัฒน์ บุปผาเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ สส.อุตรดิตถ์ เขต 1 นายวารุจ ศิริวัฒน์ สส.อุตรดิตถ์ เขต 2 นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สส.สุโขทัย พรรคเพื่อไทย นายแพทย์ภานุวัฒน์ ปานเกตุ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายแพทย์กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และ อสม.เข้าร่วม ที่อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพิชัย อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
โดยนายสมศักดิ์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของพี่น้องประชาชนทุกช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทย มีผู้สูงอายุประมาณ 14 ล้านคน หรือประมาณ 21% ของประชากรรวม ทำให้ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs และปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ เช่น การมองเห็น สุขภาพช่องปาก และการได้ยิน เป็นต้น
“ผมจึงมีความยินดีที่ได้มาเปิดโครงการบริการทุกช่วงวัย ด้วยความห่วงใยจากกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้หลักการ “อสม. มั่นคง สาธารณสุขเข้มแข็ง เพื่อคนไทยห่างไกล NCDs” ซึ่งมีคลินิกให้บริการพี่น้องประชาชนถึง 11 คลินิก ได้แก่ 1. คลินิกแพทย์แผนไทย 2. คลินิก NCDs 3. คลินิกโรคอ้วน 4. คลินิกโรคไต 5. คลินิกโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ 6. คลินิกผ่าตัดนิ้วล็อค 7. คลินิกเครื่องช่วยฟัง 8. คลินิกต้อกระจกและจอประสาทตา 9. คลินิกผ่าตัดวันเดียวกลับ 10. คลินิกตรวจมะเร็งปากมดลูก และฉีดวัคซีน HPV และ 11. คลินิกฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยผมเชื่อมั่นว่าโครงการนี้ จะช่วยยกระดับเข้าถึงบริการสุขภาพ สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ป้องกันและลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ ตลอดจนลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ได้” รมว.สาธารณสุข กล่าว
จากนั้น นายสมศักดิ์ พร้อมคณะ เดินทางต่อไปยัง หอประชุมศรีวชิรโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก เพื่อเปิดโครงการบริการทุกช่วงวัย ด้วยความห่วงใยจากกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้หลัก “อสม. มั่นคง สาธารณสุขเข้มแข็ง เพื่อคนไทยห่างไกล NCDs” จังหวัดพิษณุโลก โดยมี นายนิสิต สวัสดิเทพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก นายจเด็ศ จันทรา สส.พิษณุโลก เขต 1 นายนพพล เหลืองทองนารา สส.พิษณุโลก เขต 2 นางสาวพิมพ์พิชชา ชัยศุภกิจเจริญ สส.พิษณุโลก เขต 4 พรรคเพื่อไทย และ อสม. กว่า 1,000 คน ร่วมต้อนรับด้วย
โดยนายสมศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเผชิญกับความท้าทาย ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงสร้างประชากรที่มีเด็กเกิดน้อย สังคมสูงวัย และการเพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs เช่น เบาหวาน มะเร็ง หลอดเลือดหัวใจและสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของคนไทย
กระทรวงสาธารณสุข จึงต้องการที่จะยกระดับ การดูแลสุขภาพประชาชน ให้ครอบคลุมทุกช่วงวัยและทุกมิติ ทั้งด้านการส่งเสริม คัดกรอง ป้องกัน และดูแลรักษา ในปัญหาสุขภาพที่สำคัญ รวมถึงเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการสาธารณสุข ลดระยะเวลารอคอยการรับบริการ และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า การแก้ปัญหาบริการสาธารณสุข ตนมองว่า ควรแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะใกล้ ต้องผลักดันเทเลเมดิซีน หรือ การแพทย์ทางไกล จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข ได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น ส่วนระยะกลาง คือ การป้องกันโรค NCDs โดยถ้ารณรงค์ป้องกันโรคได้ ก็จะช่วยลดจำนวนผู้ป่วย ลดความแออัดในโรงพยายาล และระยะไกล คือ การเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งถ้าทำทั้งหมด ก็จะช่วยแก้ปัญหาและยกระดับบริการสาธารณสุขได้อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ นายสมศักดิ์ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า วันนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกเยี่ยมเยียนประชาชน ภายใต้หลักการ อสม. มั่นคง สาธารณสุขเข้มแข็ง เพื่อคนไทยห่างไกล NCDs โดยวันนี้ มีทั้งหมด 11 คลินิก มาให้บริการประชาชน ตั้งแต่โรคอ้วน ตา มะเร็ง รักษาไต ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเปิดให้ประชาชน สามารถเข้ารับบริการได้ รวมถึงวันนี้ ก็มีการแนะนำการป้องกันโรค เพราะตนเห็นว่า โรค NCDs สามารถป้องกันได้ จึงขอให้ อสม.เป็นกระบอกเสียงในการแนะนำการนับคาร์บ ป้องกันโรค NCDs โดยขณะนี้ อสม.แนะนำประชาชนนับคาร์บได้แล้วกว่า 29 ล้านคน และจะดำเนินการให้ถึงเป้าต่อไป
เมื่อถามถึงสถานการณ์โควิดกลับมาระบาด นายสมศักดิ์ กล่าวว่า สถานการณ์โควิด เมื่อเราเปรียบเทียบดู 3 ปี โดยปี 2567 มีผู้ติดโควิด 4 แสนกว่าคน ส่วนปีนี้ 2568 ในระยะเวลาเท่ากัน 21 สัปดาห์ มีผู้ติดโควิด 120,000 คน ขณะที่ปี 2564 ก็มีผู้ติดโควิด 120,000 คน แต่เมื่อเราดูสิ่งที่น่ากลัวคือ การเสียชีวิต โดยปีนี้ เสียชีวิตน้อยที่สุด ถึงแม้จะมีผู้ติดเชื้อเท่ากับปี 2564 เพราะปีนี้ มีผู้เสียชีวิต 27 คน ส่วนปี 2567 มีผู้เสียชีวิต 121 คน ขณะที่ปี 2564 เสียชีวิต 675 คน แสดงให้เห็นว่า โควิด ติดเหมือนปี 2564 แต่อัตราการเสียชีวิต แตกต่างกันมาก เพราะเชื้อไม่ได้รุนแรงเกินความสามารถแพทย์ที่ดูแลได้