KUBET – ช้าก่อน !ฟ้องคดีใหม่”ศาลปกครอง” ช่วย”ยิ่งลักษณ์” ไม่จ่ายหมื่นล้าน ไม่ง่าย 

ช้าก่อน !ฟ้องคดีใหม่”ศาลปกครอง” ช่วย”ยิ่งลักษณ์” ไม่จ่ายหมื่นล้าน ไม่ง่าย 

“ณัฐวุฒิ  วงศ์เนียม” นักกม.มหาชน เปิดหลักเกณฑ์พิจารณา “คดีใหม่” หลัง”ทนายยิ่งลักษณ์” เตรียมตั้งเรื่องช่วย “ยิ่งลักษณ์” ไม่ต้องจ่ายหมื่นล้าน”จำนำข้าว” ต่อศาลปกครองสูงสุด ไม่ใช่เรื่องง่าย

23 พฤษภาคม 2568  “ดร.ณัฎฐ์” ณัฐวุฒิ  วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน ที่เคยออกมาเปิดเผยแนวทางการตัดสินของศาลปกครองสูงสุด กรณี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี  ต้องชดใช้ความเสียหายโครงการรับจำนำข้าว หรือไม่  ได้อธิบายมุมมองทางกฎหมายภายหลัง ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ รวมถึง แกนนำพรรคเพื่อไทย เตรียมฟ้องคดีใหม่ต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อให้อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ไม่ต้องจ่ายเงินหมื่นล้านบาท  

โดย ดร.ณัฐวุฒิ  กล่าวว่า  ข้อเท็จจริงที่กระทรวงการคลังสั่งให้จ่าย และศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งแก้ ให้จ่าย 10,028 ล้านบาท นั้น ตรงนี้ ไม่อาจนำข้อเท็จจริงมารื้อร้องฟ้องใหม่ได้  เพราะไม่ใช่การขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 75  

หลักเกณฑ์ในการขอพิจารณาคดีใหม่ 

ต้องเป็น ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้ที่อาจถูกกระทบจากผลแห่งคดีนั้น อาจมีคำขอให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาคดี หรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีปกครองนั้นใหม่ได้ ดังนี้ 

 * ศาลปกครอง ฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด หรือมีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นที่ยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ

 * คู่กรณีที่แท้จริงมิได้เข้ามาในคดี หรือมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีโดยชอบ

 * มีเหตุสุดวิสัย หรือมีเหตุอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทำให้คู่กรณีไม่ได้เข้าต่อสู้คดี หรือไม่ได้นำพยานหลักฐานสำคัญมาแสดงต่อศาล

 * คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีนั้น ได้มาโดยการทุจริต เช่น การติดสินบน การข่มขู่ หรือการใช้อิทธิพลโดยมิชอบ

 * ศาลปกครองได้วินิจฉัยคดีไปในทางที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใหม่ ซึ่งมีผลย้อนหลังไปบังคับใช้กับคดีนั้น หรือศาลปกครองได้วินิจฉัยข้อกฎหมายผิดพลาดอย่างร้ายแรง


"ดร.ณัฎฐ์" ณัฐวุฒิ  วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน

ระยะเวลาในการยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่ นั้น  การยื่นคำขอให้พิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งใหม่ต้องกระทำภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นได้รู้หรือควรรู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ได้ แต่ ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ศาลปกครองได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาด

จะเห็นได้ว่า การพิจารณาคดีใหม่ ไม่ใช่การอุทธรณ์ซ้ำ หรือการฟ้องซ้ำในประเด็นเดิม แต่เป็นการร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่กฎหมายกำหนด

=คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ถือเป็นคำฟ้อง จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครองชั้นต้น
 
=แม้ว่าจะมีเหตุแห่งการขอพิจารณาคดีใหม่ แต่ศาลจะพิจารณาจากพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ หากศาลเห็นว่าการวินิจฉัยเดิมถูกต้องและสมบูรณ์แล้ว หรือเหตุที่ยกมาไม่เป็นสาระสำคัญที่จะทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลอาจมีคำสั่งไม่รับคำขอไว้พิจารณาได้


"ดร.ณัฎฐ์" ณัฐวุฒิ  วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน

การมีกลไกการพิจารณาคดีใหม่ในคดีปกครอง ช่วยให้เกิดความเป็นธรรมและสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานใหม่ปรากฏขึ้นภายหลัง หรือมีเหตุอันมิอาจก้าวล่วงได้ ซึ่งส่งผล กระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิม ทำให้กระบวนการยุติธรรมทางปกครองมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ส่วนประเด็น จะนำหลักฐานเรื่องยอดการขายข้าวค้างในคลังที่ได้นับแสนล้านบาท ไปฟ้องแล้วนำยอดเงิน มาใช้ในหักกลับลบหนี้ เพื่อมิให้นางสาวยิ่งลักษณ์ฯจ่าย พิจารณา แยกได้ 2 ส่วน

ส่วนที่หนึ่ง  หากทนายผู้ร้องของนางสาวยิ่งลักษณ์ฯ ได้ยื่นข้อเท็จจริงนี้ไปในคดีเดิมแล้ว แต่ศาลวินิจฉัยยกคำร้อง โดยระบุว่า เลยขั้นตอนการแสวงหาข้อเท็จจริง ทำให้ข้อเท็จจริงไม่เข้าสู่สำนวนเดิม อาจเป็นช่องให้หยิบข้อเท็จจริงตรงนี้ นำไปฟ้องคดีใหม่ได้ เพราะศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว  

ทั้งนี้ตาม คำสั่งของกระทรวงการคลัง ที่ 1351/2559 ซึ่งเป็นคำสั่งที่ให้ น.ส. ยิ่งลักษณ์ รับผิดชอบค่าเสียหายในโครงการจำนำข้าว ได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่า “ถ้าทางราชการขายข้าวได้ในราคาที่สูงกว่ามูลค่าที่อนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวคำนวณไว้ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ก็สามารถนำมาหักทอนกับที่ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ต้องรับผิดชอบได้”

นอกจากนี้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) ก็ได้กล่าวถึงประเด็นนี้เช่นกัน โดยเชื่อว่า การระบายข้าวล็อตสุดท้ายที่ขายได้ในราคาสูง (กิโลกรัมละ 18 บาท) สามารถนำมาใช้เป็นข้อต่อสู้ในคดีของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ได้ เพื่อพิสูจน์ว่าข้าวไม่ได้เน่าเสียและโครงการไม่ได้เสียหายทั้งหมดตามที่ถูกกล่าวหา อาจเป็นช่องทางฟ้องคดี เพื่อนำมูลค่าข้าวในโครงการจำนำข้าว มาหักกลบลบหนี้

ส่วนที่สอง ต้องพิจารณาดูว่า ยอดการขายข้าวค้างโกดังที่ทนายความของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ อ้างว่าจะเป็นหลักฐานใหม่นั้น เป็นพยานหลักฐานใหม่หรือไม่ ที่สามารถนำมาขอรื้อฟื้นคดีได้ตามกฎหมาย เพราะเป็นข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีเดิมอยู่แล้ว และศาลได้พิจารณาไปครบถ้วนแล้วในกระบวนการพิจารณาคดีที่ผ่านมา

ดังนั้น แม้ทนายความของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ จะมีความประสงค์ที่จะยื่นหลักฐานเพื่อขอเปิดคดีใหม่ แต่ตามหลักกฎหมายและเงื่อนไขการรื้อฟื้นคดีในศาลปกครองนั้นทำได้ยากมาก โดยเฉพาะเมื่อคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดถือเป็นที่สุดแล้ว และประเด็นที่อ้างว่าเป็น “พยานหลักฐานใหม่” อาจไม่เข้าเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เนื่องจากเป็นข้อมูลที่เคยอยู่ในสำนวนคดีเดิมแล้ว ดังนั้น โอกาสที่จะสามารถฟ้องใหม่หรือรื้อฟื้นคดีจำนำข้าวได้สำเร็จนั้น ค่อนข้างจำกัด เว้นแต่จะมีพยานหลักฐานใหม่ที่ชัดเจนและสำคัญอย่างแท้จริง ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในกระบวนการพิจารณาคดี และเข้าเงื่อนไขที่กฎหมายระบุไว้ทุกประการ